วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Balanced Scorecard โตโยต้าเชียงราย



วิสัยทัศน์
1.   เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้า
2. 
เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด 

หลักการ
1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง2. เคารพและยอมรับผู้อื่น
3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า
4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด
5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
1. สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ 
2.บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด
3. กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัทสร้าง
สังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม


Balanced Scorecard การวางแผนการดำเนินงานที่ดี จะทำให้กิจการสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ

1. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงสถานะ
พื้นฐานขององค์กร
2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้บริหาร3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจการมุมมองของแต่ละกิจการ จะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการดำเนินกิจการ4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ วัตถุประสงค์ (Objective) ในมุมมองด้านต่าง ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร  โดยมุมมองต่าง ๆ จะประกอบด้วยมุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ในลักษณะของเหตุและผล (Cause and Effect Relationship) เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map)6.  การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) และเป้าหมาย (Target) สำหรับแต่ละมุมมองพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ7.  การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละมุมมอง


ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators : KPI)
ในการจัดทำ Balanced Scorecard จำเป็นต้องอาศัยตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) ประกอบในการจัดทำด้วย ตัวชี้วัดดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบว่ามุมมองแต่ละด้านนั้นมีปัจจัยใด 
โดยมุมมองด้านต่าง ๆ จะประกอบด้วย

มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspectives) – เป็นมุมมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะสามารถทำให้ทราบว่ากิจการขณะนี้มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ด้านการเงินจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้านการเพิ่มขึ้นของกำไร (Increase Margin)
การเพิ่มขึ้นของรายได้ (Increase Revenue)
การลดลงของต้นทุน (Reduce Cost) และ อื่น ๆ



มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspectives) -  เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า “ลูกค้ามองเราอย่างไร” โดยจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)
ส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
การรักษาฐานลูกค้าเดิม (Customer Retention)
การเพิ่มลูกค้าใหม่ (Customer Acquisition) และ อื่น ๆ


มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspectives) – เป็นส่วนที่ช่วยทำให้องค์กรสามารถนำเสนอคุณค่า (Value)ที่ลูกค้าต้องการได้ โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ผลิตภาพ (Productivity)
ทักษะของพนักงาน (Employee Skill)
คุณภาพ (Quality)
วงจรเวลา (Cycle Time)
การปฏิบัติงาน (Operations) และ อื่น ๆ

มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร (Learning and Growth Perspectives) – เป็นมุมมองที่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ความพึงพอใจและทัศนคติของพนักงาน (Satisfaction and Attitude of employee)
ทักษะ (Skill) ของพนักงานอัตราการเข้าออกของพนักงาน (Turnover) และอื่น ๆ

คุณสายทอง   ทาแก้ว ผู้รองกรรมการผู้จัดการโตโยต้าเชียงราย กล่าวว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้า"





เมื่อภูเขาน้ำแข็งละลาย (Our Iceberg is melting) การแก้ไขโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์



1.สร้างสำนึกแห่งความเร่งรีบ

ช่วยผู้อื่นให้เห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง และความสำคัญของการกระทำทันที

2.ทีมชี้นำสมัครสมานสามัคคี

แน่ใจให้ได้ว่ามีกลุ่มอังทรงพลังที่ชี้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นทีมที่มีทักษะความเป็นผู้นำ ความน่าเชื่อถือ ความสามารถทางการสื่อสาร อำนาจที่ได้รับมอบหมาย ทักษะด้านการวิเคราะห์ และสำนึกแห่งความเร่งรีบ

3.พัฒนากลงยุทธ์และวิสัยทัศน์ที่เปลี่ยนไป

อธบายให้เห็นถึงว่าอนาคตที่จะแตกต่าวจากอดีตอย่างไรและคุณสามารถทำให้อนาคตนั้นเป็นจริงได้อย่างไร

4.สื่อเพื่อทำความเข้าใจ

แน่ใจว่าคนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เข้าใจและยอมรับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์

5.มอบอำนาจให้ผู้อื่นไปกระทำ

ขจัดอุปสรรค์ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อทำให้คนที่ต้องการทำวิสัยทัสน์เป็นความจริงสามารถทำได้

6.ผลิตชัยชนะระยะสั้น

สร้างความสำเร็จที่เห็นได้ชัดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

7.อย่างผ่อนคันเร่ง

กดดันให้หนักหน่วงและรวดเร็วหลังการประสบความสำเร็จครั้งแรก ไม่หยุดพักต่อการเริ่มการเปลี่ยนแปลงครั้งแล้วครั้งเล่าจนกว่าวิสัยทัศน์

8.สร้างวัฒนธรรมใหม่

รักษาวิถีทางใหม่ของการประพฤติตัว และแน่ใจว่าประสบความสำเร็จ จนกระทั่งมันแข็งแกร่วเพียงพอที่จะแทนประเพณีเก่า

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                กระบวนการโลกาภิวัฒน์ สร้างความเปลี่ยนแปลงที่กว้างขวางและรวดเร็ว ทำให้สถานการณ์แข่งขันทางการค้าเข้มข้นขึ้น ส่งผลกระทบต่อนโยบายทางการค้าของทุกประเทศที่จะต้องมีการปรับตัวที่รวดเร็ว ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างกัน
                ประเทศไทยเริ่มทำการค้ากับจีน(ตอนใต้)โดยเฉพาะมณฑลยูนนานมาตั้งแต่อดีตแต่ปรากฏสถิติข้อมูลการค้าชายแดนอย่างเป็นทางการผ่านด่านเชียงแสน จังหวัดเชียงรายครั้งแรกในปี2535 โดยเป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์เก่าจากไทยไปจีน(ตอนใต้)มูลค่าการส่งออกเพียง 178,800 บาท ขณะที่ไม่มีการนำเข้า อย่างไรก็ตามการค้าได้เพิ่มขึ้นเป็น 428 ล้านบาทในปี 2537, 113.5 ล้านบาทในปีที่ 2538 และ 215.4 ล้านบาทในปี 2539 ถึงแม้ในปี 2540 มูลค่าทางการค้าจะลดลงบ้างแต่ได้ขยายตัวขึ้นมาในช่วงปี 2541-2544 เนื่องจากประเทศจีนดำเนินโยบายเปิดประเทศมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น จนทำให้มูลค่าการค้าในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 416,205 ล้านบาท ในช่วงปี 2535 – 2546 การค้าระหว่างไทยและจีน(ตอนใต้)มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,088.4 ล้านบาท ประกอบด้วยการส่งออกเฉลี่ยปีละ 811.8 ล้านบาท และการน้ำเข้าเฉลี่ยปีล่ะ 276.6ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลมาโดยตลอด ซึ่งตรงข้ามกับสถิติทางจีนเกินดุลไทยมาโดยตลอดทั้งนี้ เบื่อจากการค้าชายแดนไทย-จีน(ตอนใต้) ส่วนหนึ่งยังเป็นการค้านอกระบบ หรือเป็นการค้าผ่านทางสหภาพพม่า และ สปป. ลาว(สำนักงานภาคและสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 2548-1549 : 72-74 )
                การค้ากับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน(ตอนใต้)เท่ากับ 5,268.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยล่ะ 57.15 โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 3,153.04 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 4,210.83 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยล่ะ 99.54 มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ1,057.79 ล้านบาท ลดลงจาปี 2547 ร้อยล่ะ 14.86
                ในปี 2549 มูลค่าการค้ารวมเท่ากับ 5,278.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 0.20 โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 3,099.37 ล้านบาท มูลค่าการส่งออกเท่ากับ 4,189.14 ล้านบาทลดลงจากปีก่อน ร้อยละ -0.52 มูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 1,098,77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 3.02 

สภาพการณ์ปัจจุบัน



วิกฤตการณ์แห่งการพัฒนา
          ท่ามกลางสังคมสมัยใหม่  ที่การพัฒนาอุตสาหกรรมกำลังรุดหน้าไป เราจะสังเกตเห็นว่า 30 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแทบทุกประเภท   ถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของแต่ละประเทศ ที่จะทำให้ประเทศของตนมีความทันสมัยขึ้นมา
          แนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้นเน้นเรื่องความเจริญทางวัตถุมีการพัฒนาทางอุตสาหกรรม  มีการเร่งขยายรายได้ประชาชาติ ซึ่งส่งผลให้เห็นว่า 30  ปีที่ผ่านมา มีความเจริญเกิดขึ้นอย่างมากมาย  แต่เป็นความเจริญทางด้านวัตถุ ขณะที่วัตถุมีความเจริญทันสมัยขึ้น   แต่ทรัพยากรของโลกถูกทำลายไปอย่างไม่มีทางที่จะหามาใหม่ได้จนกระทั่งเกิด  “วิกฤตการณ์ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม”  สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงถึงแม้ว่ารายได้ของชาติจะเพิ่มขึ้นทุกปี
         เพียงชั่วระยะเวลา 100 ปีเศษที่ไทยถูกบังคับให้รับอารยธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป
หลายประการ  คือ

         1. ภาคธุรกิจเอกชนทั้งอุตสาหกรรมและบริการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมการขยายตัวต่ำมาก
         2. สังคมปรับตัวไปสู่สังคมอุตสหกรรมมากขึ้น
         3. กำลังซื้อของคนชั้นกลางขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร กล่าวคือ มี    ประชากรวัยทำงานเพิ่มขึ้น แต่ประชากรที่เป็นภาระลดน้อยลง
         4. เกิดการขยายตัวของความเป็นเมือง
         5. เกิดการขยายตัวทางการศึกษา เช่น ในระดับปริญญาตรีเกิดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยเอกชนอีกจำนวนมาก
         6. สังคมไทยผูกพันกับต่างประเทศมากขึ้น
         7. การเปลี่ยนแปลงของชุมชนและครอบครัว จากครอบครัวขยายขนาดใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดเล็ก เนื่องจากความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
          ภายใต้การพัฒนาประเทศ  นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 จนบัดนี้ กำลังเข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2504-ปัจจุบัน) จะพบว่ามีความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ระหว่างสังคมเมืองกับสังคมชนบท    ภาคอุตสาหกรรมบริการกับภาคเกษตรกรรม  เกิดช่องว่างระหว่างความเจริญทางด้านวัตถุกับความเจริญทางด้านจิตใจ  เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ  ที่กระทบกระเทือนต่อชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงของชาติหรือเรียกว่าปัญหาสังคม  เช่น ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ที่ลดน้อยลงทุกทีจะเห็นได้จากพ่อแม่บางคนที่ขายลูกไปเป็นโสเภณี    ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ฯลฯ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาหลัก ๆ ของสังคมไทยได้พอสังเขป    ดังนี้
1.    ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยสี่ ปัญหาอพยพย้ายถิ่น ปัญหาสวัสดิการและสภาพการทำงาน ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาความไม่สมดุลในการกระจายรายได้ เป็นต้น
2.    ปัญหาด้านสังคม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบสังคม หรือโครงสร้างของสังคม เช่น ปัญหาการศึกษา ปัญหาการบริการสาธารณสุข ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมทางด้านศีลธรรมและจิตใจ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ ปัญหาโสเภณีเด็ก ปัญหาครอบครัว ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาพฤติกรรมเบี่ยงเบนปัญหาการพัฒนาโดยเลียนแบบสังคมตะวันตก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
3.    ปัญหาด้านการเมือง เช่น ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ปัญหาการตื่นตัวทางการเมืองต่ำ ปัญหาระบบพรรคการเมืองที่มุ่งผลประโยชน์ของพรรคมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาประชาชนขาดอำนาจและสิทธิในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อพวกเขา ปัญหากลไกทางราชการขาดการเอาใจใส่ดูแลกระบวนการร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมดำเนินงานในระดับชุมชน ฯลฯ
          ซึ่งเมื่อพิจารณาปัญหาสังคมเหล่านี้แล้วจะพบว่า  แต่ละปัญหามีความสัมพันธ์กับปัญหาหนึ่ง อาจเป็นสาเหตุของปัญหาหนึ่ง ขณะที่ปัญหาหนึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาหนึ่ง    เช่น ปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ไม่พอกิจ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของ เงินทองในการออกเสียงเลือกตั้ง ขณะเดียวกันปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง ส่งผลต่อปัญหาทางการเมือง    คือ แสดงให้เห็นถึงสถานบันทางการเมืองอ่อนแอ รัฐบาลหรือพรรคการเมืองไม่สามารถสนองปัจจัยสี่    หรือสนองความต้องการแก่คนในสังคมได้อย่างเพียงพอ เป็นต้น

          ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม  สามารถจำแนกได้เป็น  2  ระดับ  คือ  ระดับบุคคลกับระดับสังคม และทั้ง 2 ระดับมีความสัมพันธ์กันส่งผลถึงกันได้ตลอดเวลา  เช่น การเบี่ยงเบนพฤติกรรมทางเพศ เป็นปัญหาระดับบุคคล แต่สามารถส่งผลถึงปัญหาระดับสังคมได้    คือ เอดส์ เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรค


 ปัญหาและอุปสรรค
1.1 การขนส่ง มี 4 ช่องทาง ได้แก่
                 - ทางอากาศ เป็นช่องทางที่สะดวกที่สุด ใช้เวลาเพียง 2 ชั่งโมง แต่ค่าขนส่งสูง
                 - ทางแม่น้ำโขง จากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านพม่าและสปป.ลาว ไปจีน (ท่าเรือ Simao, Jinghong, Menghan, Guanlei) ใช้ระยะเวลาจากจีนมาไทย 1 วัน แต่เที่ยวกลับไทยไปจีน 2 วัน ทั้งนี้ หาดไม่มีสินค้าจากจีนลงมา จะไม่มีเรือขนส่งค้าขึ้นไปจีน
                 - ทางทะเล ขึ้นที่ท่าเรือ Huang Pu นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง แล้วขนถ่ายจากเรือไปรถไฟ หรือรถบรรทุกไปมณฑลยูนนาน
                 - ทางถนน ในอนาคตจะมีเส้นทางจากจังหวัดเชียงรายเชื่อมจีนโดยผ่านพม่าและลาว และเส้นทางจากน่านผ่านลาวไปจีน โดยในส่วนเส้นทางภายในจีน รัฐบาลจีนได้เร่งปรับปรุง ขยายเส้นทางและตัดถนนใหม่เพิ่มความสะดวกและลดระยะทางจากคุนหมิงถึงเชียงรุ่ง ให้สะดวกยิ่งขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
                1.2 การชำระเงินระหว่างประเทศ คุนหมิงได้รับอนุมัติให้เป็นเมืองเสรีทางการเงินเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1995 หมายถึงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศมาตั้งได้ ขณะนี้มีเพียง ธนาคารของประเทศไทยเท่านั้น คือ ธนาคารกรุงไทย Krung Thai Bank Public Co.,Ltd, Kunming Branch, Kunming Hotel,52 Dongfeng East Rroad, Kunming, Yunnan,650051 CHINA Tel: (86-871) 3138370-1 Fax: (86-871) 3138367) ได้รับอนุมัติเป็นสำนักงานสาขาแห่งแรก และสำนักงานตัวแทนของธนาคารกสิกรไทยอยู่ที่  King World Hotel Tel: (86 871) 3138888 ต่อ 3108 Fax: (86 871) 3544581 ทั้งสองธนาคารสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกไทยในเรื่องการรับชำระเงินของ ลูกค้าในมณฑลยูนนานได้ และธนาคารกรุงไทย ให้บริการรับฝาก-ถอน-โอน เงินตราต่างประเทศ(ไม่ใช่สกุลหยวน) ให้แก่ลูกค้าชาวต่างประเทศได้ด้วย
                1.3 การกีดกันทางการค้า แม้ จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุง มาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องตามสากล ทั้งนี้ รัฐบาลจีน ได้ออกหน่วยงานใหม่ อาทิDepartment of the World Trade Organization Affairs, Bureau of Fair Trade for Imports and Exports , Food and Drug Administration ขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมออกกฎหมายและมาตรการใหม่ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ ระเบียบมาตรฐานสินค้า (CCC) ระเบียบด้านสุขอนามันพืชและสัตว์ ระเบียบปริมาณและชนิดสารตกค้าง และเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบริโภคภายในประเทศ ฯลฯ
                1.4 บุคคลากร จีนยังขาดบุคคลากรที่มีความรู้ในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้น้อย ขณะที่ไทยขาดแคลนบุคคลากรที่พูด อ่าน เขียน ภาษาจีน ทำให้ไทยสูญเสียตลาดบางส่วนให้กับประเทศคู่แข่งขัน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งมีบุคคลากรที่พูดภาษาจีนได้มากกว่า
                1.5 เนื่องจากมณฑลยูนนานมีชายแดนติดกับประเทศ เวียดนาม พม่า และลาว จึงมีการค้าชายแดน ซึ่งลดภาษีนำเข้าครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ และมีการหลบเลี่ยงภาษีนำเข้า ของจีน หรือDeclare ไม่ครบจำนวน จึงทำให้สถิติการค้าไม่แน่นอนมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก

             
ปัญหาที่ได้จากการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ส่งออกไทยที่ทำการค้ากับยูนนาน 
มีทั้งปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายในประเทศไทยเองและปัญหาจากข้อจำกัดต่าง ๆ ของจีน โดยสามารถสรุปความสำคัญของแต่ละประเด็นปัญหา ได้ดังนี้

                    1) ปัญหาการคืนภาษีอากรล่าช้าของไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและขาดเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะผู้ส่งออกขนาดเล็กและขนาดกลาง
                   2) ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการขนส่งของไทยมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อำนาจการแข่งขันในตลาดยูนนานลดลง
                   3) ปัญหาด้านนโยบายการค้าและกีดกันการนำเข้าของรัฐบาลจีน ที่มีออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ มาตรฐานสินค้า ชนิดสารตกค้าง ปริมาณสารตกค้าง การออกใบรับรองคุณภาพและขบวนการผลิต ฯลฯ
                  4) ปัญหาด้านการจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและชิ้นส่วนของไทยมีอัตราสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
                  5) ปัญหาระบบการเงินและการค้าที่ยังไม่เป็นสากลของประเทศจีน ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการทำธุรกิจ
                  6) ปัญหาการขาดข้อมูลการตลาดที่สำคัญของจีนตอนใต้ ทำให้การวางแผนการตลาดเป็นไปได้ยาก และมีความเสี่ยงสูง
                  7) ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาจีน และค่าจ้างแรงงานสูงของไทย
                  8) ปัญหาด้านขั้นตอนและระเบียบการนำเข้า ส่งออกของไทยซับซ้อน ทำให้การส่งออกล่าช้าและขาดความคล่องตัว มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และมีผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญด้านกฎหมายน้อย
                   9) ปัญหาการแข่งขันในตลาดจีนตอนใต้เพิ่มมากขึ้น 
มีการลอกเลียนแบบหรือปลอมแปลงสินค้ามาก
                10) ปัญหาเส้นทางคมนาคมขนส่งในจีนตอนใต้ไม่สะดวก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
                11) ปัญหาอื่นๆ เช่นปัญหาการคอรัปชั่นที่แพร่หลายในประเทศจีน ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น

ผู้รับผลกระทบของปัญหา


     จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมาจากความพยายามในการพัฒนาสังคม    ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยจากการบริหารประเทศ อันได้แก่
แผนพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2504 เมื่อการดำเนินการในแผนแรกสิ้นสุดลง รัฐบาลเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว ทำให้ประเทศมีการพัฒนาไม่สมดุล ดังนั้นในแผนฯ ฉบับที่ 2 จึงมีคำว่าสังคม เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเน้นการพัฒนาสูงขึ้น แต่ในทางปฏิบัติจริง แผนฯ 1-4 ก็ยังคงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมกล่าวคือ เน้นการลงทุน การยกระดับรายได้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนา เช่น การสร้างเขื่อนไฟฟ้า ประปา การคมนาคมขนส่ง และการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแทนที่จะทำให้ประเทศมีการพัฒนา กลับทำให้เกิดปัญหาตามมาคือความยากจนมีมากขึ้น การว่างงานมีอัตราสูงขึ้น มีความแตกต่างทางรายได้เพิ่มมากขึ้น และการล่มสลายของชนบทมีมากขึ้น
การรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจ และการอำนวยการต่าง ๆ ของภาครัฐไว้ที่ส่วนกลาง ประชาชนถูกจัดเป็นปัจจัยในการพัฒนามากกว่าการเป็นเจ้าของ การพัฒนาทำให้การสนใจรับรู้สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชน การวิเคราะห์ปัญญา และการดำเนินการแก้ไข ตลอดจนการจัดทรัพยากรต่าง ๆ จะเป็นการสั่งมาจากเบื้องบนและส่วนกลางมากกว่าที่จะมองจากแง่มุมของประชาชนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศกลไกการบริหารงานของรัฐ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค ไม่สามารถนำนโยบายและแผนงานไปปฏิบัติให้ลุล่วงได้ผลตามที่ต้องการ
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก อันได้แก่
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง การใช้รถแทนเกวียนการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยียังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการคมนาคม การสื่อสาร การแพทย์ และความสามารถในการควบคุมธรรมชาติอีกด้วย
การรับอารยธรรมจากภายนอก เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการติดต่อข้ามวัฒนธรรม และรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาสู่ท้องถิ่น เกิดการเลียนแบบการพัฒนาอย่างตะวันตก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมากล่าวคือ บางอย่างนำมาแต่รูปแบบ แต่ไม่ได้นำสาระมาด้วย เช่น นำรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยมา แต่ไม่ได้นำหลักการหรือปลูกฝังให้เกิดวิถีชีวิตที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงบางอย่างตาม แต่ล้ำเลยไป เช่น กิจกรรมบันเทิงยามราตรีบางอย่างรับมา แต่ปฏิบัติไม่ครบกระบวน ได้แก่ การสร้างอารยธรรมแบบสังคมอุตสาหกรรม เช่น ความขยัน การทำงานหนัก ความอดทน ความอดออม ความมีระเบียบวินัยเหล่านี้ คนไทยไม่ได้รับมาบางครั้งนำแบบอย่างที่ผิดมาปฏิบัติ เช่น การพัฒนาประเทศ โดยเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย
สภาวะประชากรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ที่ทำกินต่อครอบครัวน้อยลง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นและเปลี่ยนอาชีพ ส่วนการคุมกำเนิด เมื่อถึงระดับหนึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรคนในวัยทำงาน จำนวนเด็กลดลง ซึ่งจะส่งผลให้คนว่างงานหลายอาชีพขึ้นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากจำนวนมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น มีความเจริญมากขึ้น มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพิ่มขึ้น ทำให้สภาพป่าลดน้อยลง คุณภาพดินเสื่อม สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ
จากการพัฒนาสังคม โดยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนบัดนี้ถึงแผนฯ 7 แล้วนั้น   ก่อให้เกิดผลกระทบ
 4 ด้าน คือ
1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลดี
โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ
3.8 ในปี 2528 เป็นอัตราร้อยละ 9.7
ในปี 2532มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น เช่น การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า โทรทัศน์ รถยนต์ ฯลฯ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลเสีย
การกระจายรายได้ไม่สมดุล เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเติบโตมากกว่าภาคเกษตรกรรมเกิดการอพยพแรงงานจากภาคเกษตรกรรมออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาสังคมในเวลา

ต่อมาเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เนื่องจากต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและต้องพึ่งพาตลาดต่าง
ประเทศมาก ทำให้อำนาจการแข่งขันลดน้อยลงและขาดดุลการค้าอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากการมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของรัฐบาล
2. ผลกระทบทางด้านสังคม
ผลกระทบด้านสังคมในด้านดี
โครงสร้างประชากรดีขึ้น มีประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนประชากรวัยเด็กและวัยชราลดลง ทำให้ประชากรวัยทำงานมีเงินออมเพื่อที่จะนำไปลงทุนเพิ่มขึ้นประชาชนในประเทศมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นประชาชนในประเทศมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาสูงขึ้น

ผลกระทบด้านสังคมในด้านผลเสีย
ความอบอุ่นจากสภาพทางครอบครัวลดลงเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนของประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัวมีการหย่าร้างมากขึ้น
3. ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลดี
ทำให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการแบ่งเป็นย่านต่าง ๆ เช่น ย่านอุตสาหกรรม ย่าน
เกษตรกรรม ย่านที่อยู่อาศัยเกิดการประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ เช่น การนำพลาสติกมาใช้แทนเหล็ก การใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติมีการขยายตัวของเขตเมืองและชนบท
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลเสีย
การพัฒนาประเทศให้เป็นเขตเมือง และเขตอุตสาหกรรมทำให้มีการทำลายสภาพแวดล้อมเกิดปัญหามลภาวะจากความแออัด ไม่เป็นระเบียบของชุมชน และภาวการณ์ทิ้งของเสียลงแม่น้ำ ลำคลองและทะเลเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยเนื่องจากมลพิษในอากาศ

4. ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรม
ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลดี
การสร้างวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นวัฒนธรรมทางด้านความคิด เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนมาเป็นการ
ผลิตเพื่อขาย

ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลเสีย
ผลกระทบในการทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทยเกิดความสับสนทางวัฒนธรรม คนชนบทยังปรับตัวไม่ได้กับค่านิยมของสังคมเมืองที่หลั่งไหลเข้าไปทำให้แบบแผนการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นคนในสังคมเมืองเองที่ยังปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของวัฒนธรรมเกิดเป็นผลทำลายสุขภาพจิต ทำให้สถิติของการเป็นโรคประสาทมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

ข้อแนะนำในการละความรุนแรง


ข้อแนะนำในการละความรุนแรง

ผลการศึกษา ผลกกระทบการค้าชายแดนไทย - จีน ที่มีต่อผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่าผู้ประกอบการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่มีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการค้าชายแดนไทย-จีน ในพื้นที่อำเภอเชียงเเสน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดังนี้
1. รัฐบาลควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติทางการค้าตลอดจนการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ผู้ประกอบการค้าชายแดนให้มากยิ่งขึ้น
2.รัฐบาลควรกำหนดมาตรการทางภาษีแก่ผู้ประกอบการค้าชายแดนโดยการผ่อนปรนหรือการลดหย่อนภาษีการค้า ภาษีนิติบุคคล ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อกระตุ้นภาวะทางการค้าให้มีการลงทุนสูงขึ้น
3. รัฐบาลต้องสนับสนุนผู้ประกอบการค้าชายแดนให้สามารถดำเนินธุรกิจโดยปราศจาก การเรียกร้องผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและควรลดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติด้านศุลกากรที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าได้รับความสะดวกในการค้า
4. หน่วยงานระดับจังหวัดควรเพิ่มความสนใจและให้การสนับสนุนมากกว่านี้ รวมทั้งปรับลดอัตราการเก็บเงินทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการนำเข้า- ส่งออก สินค้ามากขึ้น
5. รัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการค้าชายแดน
6. รัฐบาลควรสนับสนุนการค้าชายแดนอย่างจริงจังและมากกว่าปัจจุบัน
7. รัฐบาลควรสนับสนุนเอกชนให้มีการมีส่วนร่วมในการค้าชายแดนมากขึ้น
8. ปรับลดอัตราการเก็บเงินทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อการสนับสนุนให้มีการนำเข้า - ส่งออกสินค้ามากขึ้น
9. ภาครัฐบาลและภาคเอกชนต้องทำการ ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจและให้คำแนะนำชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ร่วมการค้า
10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ควรเปิดหลักสูตรการศึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศไทยในจังหวัดเชียงราย ให้กับนักศึกษาไทย - สหภาพพม่า - จีน เพื่อให้มีองคืความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อแนะนำในการละความรุนแรง

ผลการศึกษา ผลกกระทบการค้าชายแดนไทย - จีน ที่มีต่อผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่าผู้ประกอบการนำเข้า - ส่งออกสินค้าที่มีความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลการค้าชายแดนไทย-จีน ในพื้นที่อำเภอเชียงเเสน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ดังนี้
1. รัฐบาลควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ระเบียบวิธีปฏิบัติทางการค้าตลอดจนการให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ผู้ประกอบการค้าชายแดนให้มากยิ่งขึ้น
2.รัฐบาลควรกำหนดมาตรการทางภาษีแก่ผู้ประกอบการค้าชายแดนโดยการผ่อนปรนหรือการลดหย่อนภาษีการค้า ภาษีนิติบุคคล ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อกระตุ้นภาวะทางการค้าให้มีการลงทุนสูงขึ้น
3. รัฐบาลต้องสนับสนุนผู้ประกอบการค้าชายแดนให้สามารถดำเนินธุรกิจโดยปราศจาก การเรียกร้องผลประโยชน์จากเจ้าหน้าที่ของภาครัฐและควรลดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติด้านศุลกากรที่ไม่จำเป็น เพื่อให้ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้าได้รับความสะดวกในการค้า
4. หน่วยงานระดับจังหวัดควรเพิ่มความสนใจและให้การสนับสนุนมากกว่านี้ รวมทั้งปรับลดอัตราการเก็บเงินทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการนำเข้า- ส่งออก สินค้ามากขึ้น
5. รัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการค้าชายแดน
6. รัฐบาลควรสนับสนุนการค้าชายแดนอย่างจริงจังและมากกว่าปัจจุบัน
7. รัฐบาลควรสนับสนุนเอกชนให้มีการมีส่วนร่วมในการค้าชายแดนมากขึ้น
8. ปรับลดอัตราการเก็บเงินทั้งในระบบและนอกระบบเพื่อการสนับสนุนให้มีการนำเข้า - ส่งออกสินค้ามากขึ้น
9. ภาครัฐบาลและภาคเอกชนต้องทำการ ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจและให้คำแนะนำชี้แนะ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ร่วมการค้า
10. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ควรเปิดหลักสูตรการศึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศไทยในจังหวัดเชียงราย ให้กับนักศึกษาไทย - สหภาพพม่า - จีน เพื่อให้มีองคืความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน