วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Balanced Scorecard โตโยต้าเชียงราย



วิสัยทัศน์
1.   เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค และเครือข่ายโตโยต้า
2. 
เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุด 

หลักการ
1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง2. เคารพและยอมรับผู้อื่น
3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูค้า
4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด
5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
พันธกิจ
1. สร้างความแข็งแกร่งในการปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ 
2.บรรลุการเป็นผู้นำ ในด้านความพึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการตลาด
3. กำหนดให้ความปลอดภัยเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุด ของกิจกรรมรากฐานของบริษัทสร้าง
สังคมที่มีคุณภาพโดยการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม


Balanced Scorecard การวางแผนการดำเนินงานที่ดี จะทำให้กิจการสามารถทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ

1. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ขององค์กร เพื่อให้ทราบถึงสถานะ
พื้นฐานขององค์กร
2. การพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ขององค์กร ผู้บริหารจะมีวิสัยทัศน์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้บริหาร3. การกำหนดมุมมอง (Perspective) ด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินกิจการมุมมองของแต่ละกิจการ จะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของการดำเนินกิจการ4. การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) และ วัตถุประสงค์ (Objective) ในมุมมองด้านต่าง ๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร  โดยมุมมองต่าง ๆ จะประกอบด้วยมุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ในลักษณะของเหตุและผล (Cause and Effect Relationship) เพื่อสร้างเป็นแผนที่ทางกลยุทธ์ (Strategy Map)6.  การกำหนดตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) และเป้าหมาย (Target) สำหรับแต่ละมุมมองพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ7.  การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในแต่ละมุมมอง


ตัวชี้วัด หรือ Key Performance Indicators : KPI)
ในการจัดทำ Balanced Scorecard จำเป็นต้องอาศัยตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPI) ประกอบในการจัดทำด้วย ตัวชี้วัดดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบว่ามุมมองแต่ละด้านนั้นมีปัจจัยใด 
โดยมุมมองด้านต่าง ๆ จะประกอบด้วย

มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspectives) – เป็นมุมมองที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะสามารถทำให้ทราบว่ากิจการขณะนี้มีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ด้านการเงินจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้านการเพิ่มขึ้นของกำไร (Increase Margin)
การเพิ่มขึ้นของรายได้ (Increase Revenue)
การลดลงของต้นทุน (Reduce Cost) และ อื่น ๆ



มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspectives) -  เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า “ลูกค้ามองเราอย่างไร” โดยจะมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction)
ส่วนแบ่งตลาด (Market Share)
การรักษาฐานลูกค้าเดิม (Customer Retention)
การเพิ่มลูกค้าใหม่ (Customer Acquisition) และ อื่น ๆ


มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspectives) – เป็นส่วนที่ช่วยทำให้องค์กรสามารถนำเสนอคุณค่า (Value)ที่ลูกค้าต้องการได้ โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ผลิตภาพ (Productivity)
ทักษะของพนักงาน (Employee Skill)
คุณภาพ (Quality)
วงจรเวลา (Cycle Time)
การปฏิบัติงาน (Operations) และ อื่น ๆ

มุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโตขององค์กร (Learning and Growth Perspectives) – เป็นมุมมองที่ผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กร โดยมีการพิจารณาตัวชี้วัด (KPI) ในด้าน

ความพึงพอใจและทัศนคติของพนักงาน (Satisfaction and Attitude of employee)
ทักษะ (Skill) ของพนักงานอัตราการเข้าออกของพนักงาน (Turnover) และอื่น ๆ

คุณสายทอง   ทาแก้ว ผู้รองกรรมการผู้จัดการโตโยต้าเชียงราย กล่าวว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้า"





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น