วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาและอุปสรรค


 ปัญหาและอุปสรรค
1.1 การขนส่ง มี 4 ช่องทาง ได้แก่
                 - ทางอากาศ เป็นช่องทางที่สะดวกที่สุด ใช้เวลาเพียง 2 ชั่งโมง แต่ค่าขนส่งสูง
                 - ทางแม่น้ำโขง จากท่าเรือเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ผ่านพม่าและสปป.ลาว ไปจีน (ท่าเรือ Simao, Jinghong, Menghan, Guanlei) ใช้ระยะเวลาจากจีนมาไทย 1 วัน แต่เที่ยวกลับไทยไปจีน 2 วัน ทั้งนี้ หาดไม่มีสินค้าจากจีนลงมา จะไม่มีเรือขนส่งค้าขึ้นไปจีน
                 - ทางทะเล ขึ้นที่ท่าเรือ Huang Pu นครกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง แล้วขนถ่ายจากเรือไปรถไฟ หรือรถบรรทุกไปมณฑลยูนนาน
                 - ทางถนน ในอนาคตจะมีเส้นทางจากจังหวัดเชียงรายเชื่อมจีนโดยผ่านพม่าและลาว และเส้นทางจากน่านผ่านลาวไปจีน โดยในส่วนเส้นทางภายในจีน รัฐบาลจีนได้เร่งปรับปรุง ขยายเส้นทางและตัดถนนใหม่เพิ่มความสะดวกและลดระยะทางจากคุนหมิงถึงเชียงรุ่ง ให้สะดวกยิ่งขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
                1.2 การชำระเงินระหว่างประเทศ คุนหมิงได้รับอนุมัติให้เป็นเมืองเสรีทางการเงินเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1995 หมายถึงอนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศมาตั้งได้ ขณะนี้มีเพียง ธนาคารของประเทศไทยเท่านั้น คือ ธนาคารกรุงไทย Krung Thai Bank Public Co.,Ltd, Kunming Branch, Kunming Hotel,52 Dongfeng East Rroad, Kunming, Yunnan,650051 CHINA Tel: (86-871) 3138370-1 Fax: (86-871) 3138367) ได้รับอนุมัติเป็นสำนักงานสาขาแห่งแรก และสำนักงานตัวแทนของธนาคารกสิกรไทยอยู่ที่  King World Hotel Tel: (86 871) 3138888 ต่อ 3108 Fax: (86 871) 3544581 ทั้งสองธนาคารสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ส่งออกไทยในเรื่องการรับชำระเงินของ ลูกค้าในมณฑลยูนนานได้ และธนาคารกรุงไทย ให้บริการรับฝาก-ถอน-โอน เงินตราต่างประเทศ(ไม่ใช่สกุลหยวน) ให้แก่ลูกค้าชาวต่างประเทศได้ด้วย
                1.3 การกีดกันทางการค้า แม้ จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุง มาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องตามสากล ทั้งนี้ รัฐบาลจีน ได้ออกหน่วยงานใหม่ อาทิDepartment of the World Trade Organization Affairs, Bureau of Fair Trade for Imports and Exports , Food and Drug Administration ขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พร้อมออกกฎหมายและมาตรการใหม่ๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ ระเบียบมาตรฐานสินค้า (CCC) ระเบียบด้านสุขอนามันพืชและสัตว์ ระเบียบปริมาณและชนิดสารตกค้าง และเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีบริโภคภายในประเทศ ฯลฯ
                1.4 บุคคลากร จีนยังขาดบุคคลากรที่มีความรู้ในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้น้อย ขณะที่ไทยขาดแคลนบุคคลากรที่พูด อ่าน เขียน ภาษาจีน ทำให้ไทยสูญเสียตลาดบางส่วนให้กับประเทศคู่แข่งขัน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งมีบุคคลากรที่พูดภาษาจีนได้มากกว่า
                1.5 เนื่องจากมณฑลยูนนานมีชายแดนติดกับประเทศ เวียดนาม พม่า และลาว จึงมีการค้าชายแดน ซึ่งลดภาษีนำเข้าครึ่งหนึ่งของอัตราปกติ และมีการหลบเลี่ยงภาษีนำเข้า ของจีน หรือDeclare ไม่ครบจำนวน จึงทำให้สถิติการค้าไม่แน่นอนมีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก

             
ปัญหาที่ได้จากการรวบรวมความคิดเห็นของผู้ส่งออกไทยที่ทำการค้ากับยูนนาน 
มีทั้งปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายในประเทศไทยเองและปัญหาจากข้อจำกัดต่าง ๆ ของจีน โดยสามารถสรุปความสำคัญของแต่ละประเด็นปัญหา ได้ดังนี้

                    1) ปัญหาการคืนภาษีอากรล่าช้าของไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและขาดเงินทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะผู้ส่งออกขนาดเล็กและขนาดกลาง
                   2) ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการขนส่งของไทยมีราคาสูง ทำให้ต้นทุนสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อำนาจการแข่งขันในตลาดยูนนานลดลง
                   3) ปัญหาด้านนโยบายการค้าและกีดกันการนำเข้าของรัฐบาลจีน ที่มีออกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี อาทิ มาตรฐานสินค้า ชนิดสารตกค้าง ปริมาณสารตกค้าง การออกใบรับรองคุณภาพและขบวนการผลิต ฯลฯ
                  4) ปัญหาด้านการจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรและชิ้นส่วนของไทยมีอัตราสูง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
                  5) ปัญหาระบบการเงินและการค้าที่ยังไม่เป็นสากลของประเทศจีน ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการทำธุรกิจ
                  6) ปัญหาการขาดข้อมูลการตลาดที่สำคัญของจีนตอนใต้ ทำให้การวางแผนการตลาดเป็นไปได้ยาก และมีความเสี่ยงสูง
                  7) ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านภาษาจีน และค่าจ้างแรงงานสูงของไทย
                  8) ปัญหาด้านขั้นตอนและระเบียบการนำเข้า ส่งออกของไทยซับซ้อน ทำให้การส่งออกล่าช้าและขาดความคล่องตัว มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และมีผู้เชี่ยวชาญ หรือชำนาญด้านกฎหมายน้อย
                   9) ปัญหาการแข่งขันในตลาดจีนตอนใต้เพิ่มมากขึ้น 
มีการลอกเลียนแบบหรือปลอมแปลงสินค้ามาก
                10) ปัญหาเส้นทางคมนาคมขนส่งในจีนตอนใต้ไม่สะดวก ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น
                11) ปัญหาอื่นๆ เช่นปัญหาการคอรัปชั่นที่แพร่หลายในประเทศจีน ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น