วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ผู้รับผลกระทบของปัญหา


     จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเป็นผลมาจากความพยายามในการพัฒนาสังคม    ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัย คือ
ปัจจัยจากการบริหารประเทศ อันได้แก่
แผนพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ.2504 เมื่อการดำเนินการในแผนแรกสิ้นสุดลง รัฐบาลเห็นว่า การพัฒนาเศรษฐกิจแต่เพียงด้านเดียว ทำให้ประเทศมีการพัฒนาไม่สมดุล ดังนั้นในแผนฯ ฉบับที่ 2 จึงมีคำว่าสังคม เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเน้นการพัฒนาสูงขึ้น แต่ในทางปฏิบัติจริง แผนฯ 1-4 ก็ยังคงเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมกล่าวคือ เน้นการลงทุน การยกระดับรายได้ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนา เช่น การสร้างเขื่อนไฟฟ้า ประปา การคมนาคมขนส่ง และการลงทุนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งแทนที่จะทำให้ประเทศมีการพัฒนา กลับทำให้เกิดปัญหาตามมาคือความยากจนมีมากขึ้น การว่างงานมีอัตราสูงขึ้น มีความแตกต่างทางรายได้เพิ่มมากขึ้น และการล่มสลายของชนบทมีมากขึ้น
การรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจ และการอำนวยการต่าง ๆ ของภาครัฐไว้ที่ส่วนกลาง ประชาชนถูกจัดเป็นปัจจัยในการพัฒนามากกว่าการเป็นเจ้าของ การพัฒนาทำให้การสนใจรับรู้สภาพปัญหา ความต้องการของประชาชน การวิเคราะห์ปัญญา และการดำเนินการแก้ไข ตลอดจนการจัดทรัพยากรต่าง ๆ จะเป็นการสั่งมาจากเบื้องบนและส่วนกลางมากกว่าที่จะมองจากแง่มุมของประชาชนที่กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศกลไกการบริหารงานของรัฐ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค ไม่สามารถนำนโยบายและแผนงานไปปฏิบัติให้ลุล่วงได้ผลตามที่ต้องการ
ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก อันได้แก่
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ ๆ ทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง การใช้รถแทนเกวียนการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน นอกจากนั้นแล้วเทคโนโลยียังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการคมนาคม การสื่อสาร การแพทย์ และความสามารถในการควบคุมธรรมชาติอีกด้วย
การรับอารยธรรมจากภายนอก เนื่องจากความเจริญทางเทคโนโลยีทำให้เกิดการติดต่อข้ามวัฒนธรรม และรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาสู่ท้องถิ่น เกิดการเลียนแบบการพัฒนาอย่างตะวันตก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาตามมากล่าวคือ บางอย่างนำมาแต่รูปแบบ แต่ไม่ได้นำสาระมาด้วย เช่น นำรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยมา แต่ไม่ได้นำหลักการหรือปลูกฝังให้เกิดวิถีชีวิตที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงบางอย่างตาม แต่ล้ำเลยไป เช่น กิจกรรมบันเทิงยามราตรีบางอย่างรับมา แต่ปฏิบัติไม่ครบกระบวน ได้แก่ การสร้างอารยธรรมแบบสังคมอุตสาหกรรม เช่น ความขยัน การทำงานหนัก ความอดทน ความอดออม ความมีระเบียบวินัยเหล่านี้ คนไทยไม่ได้รับมาบางครั้งนำแบบอย่างที่ผิดมาปฏิบัติ เช่น การพัฒนาประเทศ โดยเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย
สภาวะประชากรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ประชากรเพิ่มขึ้น ทำให้ที่ทำกินต่อครอบครัวน้อยลง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นและเปลี่ยนอาชีพ ส่วนการคุมกำเนิด เมื่อถึงระดับหนึ่งจะทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรคนในวัยทำงาน จำนวนเด็กลดลง ซึ่งจะส่งผลให้คนว่างงานหลายอาชีพขึ้นสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เนื่องจากจำนวนมนุษย์มีเพิ่มมากขึ้น มีความเจริญมากขึ้น มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพิ่มขึ้น ทำให้สภาพป่าลดน้อยลง คุณภาพดินเสื่อม สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติ
จากการพัฒนาสังคม โดยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จนบัดนี้ถึงแผนฯ 7 แล้วนั้น   ก่อให้เกิดผลกระทบ
 4 ด้าน คือ
1. ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลดี
โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นภาคอุตสาหกรรมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากร้อยละ
3.8 ในปี 2528 เป็นอัตราร้อยละ 9.7
ในปี 2532มีอัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น เช่น การใช้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า โทรทัศน์ รถยนต์ ฯลฯ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจในด้านผลเสีย
การกระจายรายได้ไม่สมดุล เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเติบโตมากกว่าภาคเกษตรกรรมเกิดการอพยพแรงงานจากภาคเกษตรกรรมออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาสังคมในเวลา

ต่อมาเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เนื่องจากต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศและต้องพึ่งพาตลาดต่าง
ประเทศมาก ทำให้อำนาจการแข่งขันลดน้อยลงและขาดดุลการค้าอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลางไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากการมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของรัฐบาล
2. ผลกระทบทางด้านสังคม
ผลกระทบด้านสังคมในด้านดี
โครงสร้างประชากรดีขึ้น มีประชากรวัยแรงงานเพิ่มขึ้น ส่วนประชากรวัยเด็กและวัยชราลดลง ทำให้ประชากรวัยทำงานมีเงินออมเพื่อที่จะนำไปลงทุนเพิ่มขึ้นประชาชนในประเทศมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นประชาชนในประเทศมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้นประชาชนในประเทศได้รับการศึกษาสูงขึ้น

ผลกระทบด้านสังคมในด้านผลเสีย
ความอบอุ่นจากสภาพทางครอบครัวลดลงเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนของประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมครอบครัวมีการหย่าร้างมากขึ้น
3. ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลดี
ทำให้เกิดการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น โดยการแบ่งเป็นย่านต่าง ๆ เช่น ย่านอุตสาหกรรม ย่าน
เกษตรกรรม ย่านที่อยู่อาศัยเกิดการประดิษฐ์ของเทียมขึ้นใช้ เช่น การนำพลาสติกมาใช้แทนเหล็ก การใช้ยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติมีการขยายตัวของเขตเมืองและชนบท
ผลกระทบทางด้านสภาพแวดล้อมที่เป็นผลเสีย
การพัฒนาประเทศให้เป็นเขตเมือง และเขตอุตสาหกรรมทำให้มีการทำลายสภาพแวดล้อมเกิดปัญหามลภาวะจากความแออัด ไม่เป็นระเบียบของชุมชน และภาวการณ์ทิ้งของเสียลงแม่น้ำ ลำคลองและทะเลเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยเนื่องจากมลพิษในอากาศ

4. ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรม
ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลดี
การสร้างวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัตถุทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถสูงขึ้นวัฒนธรรมทางด้านความคิด เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนมาเป็นการ
ผลิตเพื่อขาย

ผลกระทบทางด้านวัฒนธรรมในด้านผลเสีย
ผลกระทบในการทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามของคนไทยเกิดความสับสนทางวัฒนธรรม คนชนบทยังปรับตัวไม่ได้กับค่านิยมของสังคมเมืองที่หลั่งไหลเข้าไปทำให้แบบแผนการดำเนินชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นคนในสังคมเมืองเองที่ยังปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของวัฒนธรรมเกิดเป็นผลทำลายสุขภาพจิต ทำให้สถิติของการเป็นโรคประสาทมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น